ภิกษุณีธัมมนันทามหาเถรี 

บันทึกเมื่อ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

ในช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ หลังจำพรรษาระหว่างฤดูฝนในที่แห่งหนึ่ง เหล่าภิกษุได้เดินทางไปกราบถวายความเคารพต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสังเกตเห็นว่าจีวรของภิกษุเหล่านั้นขาดวิ่น จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุรับถวายจีวรจากคฤหัสถ์ ดังนั้นระยะเวลา ๑ เดือนหลังออกพรรษา ภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์ในแต่ละวัดสามารถรับถวายผ้าจีวรจากคฤหัสถ์ได้

            ปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินได้กลายป็นประเพณีในประเทศชาวพุทธ ปกติแล้วฆราวาสจัดพิธีเฉลิมฉลอง ไม่เพียงการถวายผ้ากฐิน แต่ยังจัดกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย

           

แต่ละวัดสามารถรับผ้ากฐินได้เพียงครั้งเดียวเฉพาะในช่วงเวลา ๑ เดือนหลังออกพรรษา ชาวพุทธยุ่งอยู่กับการเดินทางไปยังวัดต่างๆ ในหลายๆ แห่ง เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการถวายผ้ากฐิน

            อย่างไรก็ตาม แต่ละวัดสามารถรับผ้ากฐินได้เพียงครั้งเดียว อาจจะมีการถวายผ้าจีวรหลายผืน แต่ผ้ากฐินมีเพียงผืนเดียว ซึ่งปกติแล้วจะถวายแก่เจ้าอาวาส เนื่องจากเจ้าอาวาสจะต้องรับผิดชอบในการแสดงธรรมเทศนาในงานเฉลิมฉลองนี้ ภิกษุหรือภิกษุณีในวัดได้รับถวายผ้าจีวรอย่างเสมอภาคกัน

           

สำหรับปีนี้ วัตรทรงธรรมกัลยาณีภิกษุณีอาราม จะรับกฐินวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ แม้ว่าระยะเวลาถวายผ้ากฐินมี ๑ เดือน แต่วัดส่วนใหญ่เลือกวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมงานได้ ดังนั้น ๔ วันหยุดสุดสัปดาห์หลังออกพรรษา ปกติแล้วจะเป็นช่วงเวลาที่ยุ่งนักบวช

            นักบวชเองปกติแล้วก็ยุ่งในช่วง ๑ เดือนก่อนหน้าพิธีถวายผ้ากฐิน ในการเตรียมอาคารสถานที่ในวัดเพื่อต้อนรับญาติโยมในวันถวายผ้ากฐิน

            ฆราวาสจะเข้ามาช่วยในการจัดบูธร้านอาหารประเภทต่างๆ บริการแก่ประชาชนที่เข้าร่วมพิธี บางคนช่วยระดมทุนเพื่อสนับสนุนวัดด้วยการออกร้านขายสินค้าต่างๆ เสื้อผ้ามือสองเป็นที่นิยมใน ๒ – ๓ ปีที่ผ่านมา

            ทั้งหมดนี้เพื่อให้แน่ใจว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจะเป็นการทำบุญอีกแบบหนึ่ง เพื่อการบำรุงดูแลรักษาวัดตลอดทั้งปี